28 กุมภาพันธ์ 2554

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาโดยตรง แต่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน เช่น การพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายต่างๆ โดยโปรแกรม Microsoft Word, การคำนวณสูตรต่างๆ การแสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟ โดยโปรแกรม Microsoft Excel และการทำรายงานเสนอที่ประชุม โดยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย
- รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ
- ได้ฝึกความอดทนในการทำงาน
- ทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้
- ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
- ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม
- ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ
- สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
- ได้เพิ่มพูนประสบการณ์
สิ่งที่หลักสูตรควรปรับแก้ไข
- ควรเข้มงวดกับนักศึกษาให้มากขึ้น เพราะจะทำให้นักศึกษามีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้น

27 กุมภาพันธ์ 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 18 ( 28 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- ปริ้นซองจดหมายจ่าหน้าซองถึงบริษัท เพื่อจะนำใบเสร็จส่งไปให้ จำนวน 1 ซอง
- ตั้งหนี้ในแฟ้ม จำนวน 30 รายการ
- ตัดหนี้ในแฟ้ม จำนวน 23 รายการ
- พิมพ์จดหมายปะหน้าภาษาอังกฤษ จำนวน 2 รายการ
- นำจดหมายปะหน้าภาอังกฤษแนบกับเอกสารวางบิล และนำใส่ซองน้ำตาลที่พิมพ์ชื่อที่อยู่บริษัทที่จะนำเอกสารไปวางบิล
- เก็บเอกสารชุดสำเนาลงในแฟ้มของบริษัทนั้นๆ ให้เรียบร้อย
- เขียนใบไปรษณีย์ จำนวน 2 ฉบับ
- ลงเงินรับเช็คในสมุดบัญชี จำนวน 8 รายการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ
ปัญหา
-
แก้ไข
-

24 กุมภาพันธ์ 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 17 ( 21-25 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- เก็บเอกสารที่บริษัท Pilot ส่งกลับมาเป็นหลักฐานการส่งเอกสารของแผนก ใส่ในแฟ้มของ Pilot ให้เรียบร้อย
- ตรวจเอกสารใบวางบิล และจัดเรียงรายชื่อตามใบปะหน้า จำนวน 230 รายการ
- เก็บใบไปรษณีย์ที่ทางบริษัทส่งคืนแนบกับเรื่องที่ส่งไปให้เรียบร้อย จำนวน 170 รายการ
- นับจำนวน Invoice ที่วางบิลไปในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนทั้งหมด OPD 237 รายการ และ IPD 219 รายการ
- เพิ่ม Slide "Incident Vs Compaint" และ "Incident Vs Self Report" ลงไปในไฟล์ประชุมฝ่าย โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไข Slide "OT Ratio" เป็นชั่วโมงปกติ ต่อ ชั่วโมง OT ในไฟล์ประชุมฝ่าย โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตรวจสอบความถูกต้องใน Slide เรื่องตัวสะกดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, ตัวเลข เป็นต้น ในไฟล์ประชุมฝ่าย โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ระบุการเกิด OT ใน Slide ประชุมฝ่าย โดยระบุการขึ้นเวรวันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์, วันแทนคนขาด ทั้งหมดเป็นรายชั่วโมง
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 30 รายการ
- คีย์ข้อมูลเครดิตผิดพลาด จำนวน 30 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสาร Flow ให้ผู้จัดการ จำนวน 45 แผ่น
- โทรไปที่บริษัท Pilot ให้พนักงานมารับเอกสารไปวางบิลยังต่างประเทศ
- เรียง Invoice ตามใบปะหน้า จำนวน 370 รายการ
- เดินไปส่งเอกสาร ณ อาคาร 1 ชั้น 5 จำนวน 2 รายการ
- แก้ไขสีตารางในไฟล์ประชุมฝ่าย ให้เหมือนกับตัวอย่างที่แผนกอื่นส่งมาให้ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ข้อมูลเครดิตผิดพลาดลงในไฟล์ประชุม OM รายสัปดาห์ วันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชีที่รับกลับมา จำนวน 7 รายการ
- ถ่ายเอกสารใบเสร็จรับเงิน จำนวน 10 ใบ
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 5 รายการ
- ดึง recipt วันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2554 และนำมาแยกโค้ด CT, EM, IC, IN, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ดึง ลูกหนี้ SP รายใหม่ วันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2554 จากระบบ Oracle
- ไปตรวจเอกสารมอบอำนาจการประชุมผู้ถือหุ้นของโรงพยาบาล ณ อาคารจอดรถชั้น 9
- แก้ไขไฟล์ Workload โดย Microsoft Excel
- ค้นหาเอกสารให้มีเลขที่ Invoice ตรงกับใบปะหน้าของ IRC จำนวน 650 รายการ
- เตรียมไฟล์สำหรับกรอกข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม - ธันวาคม 2554 โดยไฟล์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้ ไฟล์ประชุมฝ่าย, ไฟล์ประชุม OM, ไฟล์คีย์ข้อมูลเครดิตผิดพลาดรายสัปดาห์ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้การตรวจเอกสารมอบอำนาจ
- มีความรับผิดชอบมากขึ้นต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ปัญหา
- Invoice ขาดไปบางราย ทำให้ไม่ครบตามใบปะหน้า
แก้ไข
- แจ้งให้แผนกการเงินปริ้นใบ Invoice ที่ขาดให้ครบถ้วน

16 กุมภาพันธ์ 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 16 ( 14-17 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- พิมพ์จดหมายปะหน้าภาษาอังกฤษ จำนวน 8 ฉบับ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- พิมพ์ซองน้ำตาล จำนวน 8 ซอง และนำจดหมายปะหน้าแนบกับเอกสารวางบิล บรรจุใส่ซอง
- เขียนใบไปรษณีย์จ่าหน้าซองถึงบริษัทที่จะนำเอกสารไปวางบิล จำนวน 8 ใบ
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 12 รายการ
- คีย์เอกสารผิดพลาดที่รับกลับมาจากบัญชี จำนวน 10 รายการ
- เก็บรวบรวมเอกสารเครดิตผิดพลาดเก่า ตั้งแต่ปี 51-52 และนำแฟ้มเปล่าเก็บที่ให้เรียบร้อย
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 21 รายการ
- คีย์ข้อมูลเครดิตผิดพลาด จำนวน 21 รายการ ลงในโปรแกรม Microsoft Excel
- ส่งเอกสาร ณ ชั้น 5 อาคาร 1 จำนวน 1 รายการ
- ลงเงินรับเช็ค จำนวน 15 รายการ
- ตัดหนี้ในแฟ้ม จำนวน 15 รายการ
- คีย์เหตุผลเครดิตผิดพลาด โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดหน้ากระดาษไฟล์ Workload และปริ้นออกมาให้เรียบร้อย
- คีย์เครดิตผิดพลาด วันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- นับบริษัทประกันและบริษัทต่างประเทศ ในไฟล์ IC ทั้งหมดนับได้ 30 บริษัท
- ดึง receipt วันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2554 โดยระบบ Oracle และแยกโค้ด CT, EM, IC, IN, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์จำนวน Invoice ที่วางบิลไปในวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์จำนวนลูกหนี้ SP รายใหม่ในช่วงวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2554
- จัด Invioce ให้ตรงกับรายชื่อในใบปะหน้า จำนวน 400 รายการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- เข้าใจการทำงานเป็นระบบ
ปัญหา
- รายชื่อในใบปะหน้า มี Invoice ไม่ครบตามรายชื่อนั้นๆ
แก้ไข
- โทรไปขอ Invoice ที่ขาดจากแผนกการเงิน

11 กุมภาพันธ์ 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 15 ( 7-11 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- ตั้งหนี้ในแฟ้ม จำนวน 300 รายการ
- พิมพ์จดหมายแจ้งแกี่ยวกับเครดิตผิดพลาด จำนวน 1 ฉบับ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- จัดทำ Flow ตามต้นฉบับของแผนกนิติการ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- พิมพ์จดหมายภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับ
- ตั้งหนี้ลูกค้าต่างประเทศ จำนวน 3 รายการ
- พิมพ์ซองน้ำตาล และนำเอกสารชุดต้นฉบับใส่ซองให้เรียบร้อย และเขียนใบไปรษณีย์แนบไปด้วย
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 75 รายการ
- คีย์เอกสารผิดพลาดที่รับกลับมาจากบัญชี จำนวน 75 รายการ
- จัดหน้ากระดาษ Flow ของแผนกนิติการฯ และปริ้น จำนวน 15 แผ่น โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขที่อยู่ของบริษัทที่นำเอกสารไปวางบิลจากในประเทศ และส่งต่างประเทศ จำนวน 3 รายการ โดยพิมพ์ใบปะหน้าใหม่ และพิมพ์ซองน้ำตาลใหม่ และนำเอกสารใส่ลงซองให้เรียบร้อย
- โทรศัพท์ให้พนักงานบริษัท Pilot มารับเอกสารที่แผนก
- พิมพ์จดหมายแจ้งลูกหนี้ประเภทต่างๆ ดังนี้ ลูกหนี้บริษัทประกัน, ลูกหนี้บริษัท, ลูกหนี้ทั่วไป โดยโปรแกรม Microsoft Word จำนวน 1 ฉบับ
- ทำ Productivity เดือนมกราคม 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ทำ OT Ratio เดือนมกราคม 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตัดหนี้บริษัททั่วไป จำนวน 37 รายการ
- ลงเงินรับเช็ค จำนวน 37 รายการ
- จัดทำ Workload ของแผนกนิติการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- นับ Invoice ที่วางบิลไปในวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์ 2554 และนำตัวเลขไปใส่ในไฟล์ที่เตรียมไว้
- ค้นหาที่อยู่บริษัทที่จะนำเอกสารไปวางบิล ในระบบ SSB จำนวน 70 รายการ และปริ้นออกมาแนบกับชุดสำเนา
- เก็บเอกสารชุดสำเนาใส่ในแฟ้มของบริษัทนั้นๆ จำนวน 20 รายการ
- ดึง Aging 3 เดือนย้อนหลัง คือ พ.ย.53, ธ.ค.53, ม.ค.54 ออกมาแยกโค้ด CT, EM, IC, IN, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตรวจสอบสูตรไฟล์ Workload โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เซฟไฟล์ PDF ที่โหลดมาจาก Intranet ของโรงพยาบาลส่งให้กับพี่ๆ
- พิมพ์ลูกหนี้ต่างประเทศที่ยังค้างค่ารักษาอยู่ ให้กับบริษัทที่จัดการการทวงหนี้ โดยโปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 120 รายการ
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 30 รายการ
- คีย์ข้อมูลเครดิตผิดพลาด จำนวน 30 รายการ ลงในโปรแกรม Microsoft Excel
ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- รู้จักการทำงานอย่างเป้นระบบ

ปัญหา
- ไฟล์ Workload ซ้ำกัน 3 ไฟล์ จึงทำให้สับสน
- Invoice บางรายได้ส่งไปให้บริษัทแล้ว จึงทำให้การนับไม่ครบถ้วน

แก้ไข
- ตรวจดูว่าข้อมูลตรงกัน และเลือกมา 1 ไฟล์ และลบไฟล์ที่เหลือทิ้งไป
- เข้าไปดูในแฟ้มตั้งหนี้อีกครั้งว่ายอดของ Invoice ตรงกันหรือไม่

3 กุมภาพันธ์ 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 14 ( 31-4 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- ทำกราฟการรับชำระหนี้ เดือนมกราคม 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 40 รายการ
- ถ่ายเอกสารคดีความ จำนวน 10 แผ่น
- ทำตารางรวม Invoice ทั้งหมด (IPD+OPD) และจำนวนเงินรวม โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารเครดิตผิดพลาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ใบปะหน้า, ใบรับรองแพทย์/ใบเคลม, ใบแจ้งหนี้, ใบปฏิเสธการจ่าย จำนวน 300 แผ่น
- ส่งเอกสาร ณ แผนกบุคคล อาคาร 2 ชั้น 18 จำนวน 2 แฟ้ม
- ส่งเอกสารสำเนาใบเสร็จรับเงินที่คนไข้ขอมานำไปส่งที่อาคาร 2 ชั้น 22
- ตัดหนี้ในแฟ้ม จำนวน 25 รายการ
- ลงเงินรับเช็คในสมุดบัญชี 25 รายการ
- ดึง receipt วันที่ 31 มกราคม 2554 ในระบบ Oracle ออกมาแยกโค้ด CT, IC, IN, EM, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์เครดิตผิดพลาด จำนวน 40 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ดึง receipt วันที่ 27-2 กุมภาพันธ์ 2554 ในระบบ Oracle ออกมาแยกโค้ด CT, IC, IN, EM, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์เหตุผลของการค้างชำระค่ารักษาของผู้ป่วย OPD ปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- พิมพ์ใบปะหน้าจดหมายภาอังกฤษ จำนวน 20 ฉบับ
- พิมพ์ซองจดหมาย และนำเอกสารต้นฉบับแนบกับใบปะหน้าใส่ซองให้เรียบร้อย จำนวน 20 ซอง
- เขียนที่อยู่บริษัทที่จะนำเอกสารไปวางบิล ลงในใบไปรษณีย์ จำนวน 20 รายการ แยกไปวางในประเทศ 18 รายการ และต่างประเทศ 2 รายการ
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 10 รายการ
- คีย์เอกสารที่รับกลับมาจากบัญชี จำนวน 5 รายการ
- พิมพ์จดหมายทวงถามการชำระหนี้ของลูกหนี้คดีความ โดยโปรแกรม Microsoft Word

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้วิธีการเขียนใบไปรษณีย์ที่ส่งไปต่างประเทศ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

ปัญหา
- เขียนใบไปรษณีย์ผิด เขียนให้ไปวางในประเทศ แต่ที่ถูกต้องจะต้องวางต่างประเทศ

แก้ไข
- เขียนใบไปรษณีย์ของต่างประเทศ และโทรให้พนักงานบริษัท Pilot มารับเอกสาร

27 มกราคม 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 13 ( 24-28 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- พิมพ์จดหมายภาษาอังกฤษส่งถึงบริษัทคู่สัญญา จำนวน 50 ฉบับ โดยแยกเป็น IPD 20 ฉบับ และ OPD 30 ฉบับ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 30 รายการ
- เขียนใบปะหน้าสัญญาการชำระหนี้ค้างของผู้ป่วย จำนวน 2 ฉบับ
- พิมพ์สันแฟ้ม จำนวน 25 แฟ้ม
- คำนวณ KPI#1 และ KPI#2 6 เดือนแรก ปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- พิมพ์จดหมายภาษาอังกฤษส่งถึงบริษัทคู่สัญญา จำนวน 1 ฉบับ
- พิมพ์ซองน้ำตาลและนำจดหมายที่พิมพ์ไว้ผนึกลงซองให้เรียบร้อย
- คีย์รับเอกสารผิดพลาดที่บัญชีส่งกลับมายังแผนก จำนวน 10 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารพาสปอร์ตผู้ป่วย, ใบการันตีของบริษัท จำนวน 150 แผ่น
- พิมพ์เลขที่กรมธรรม์ของผู้ป่วยบริษัท เฮลท์ เบนนิฟิท โดยโปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 60 รายการ
- ปริ้นจดหมายปะหน้า จำนวน 50 ชุด แยกเป็น IPD 20 ชุด และ OPD 30 ชุด โดยโปรแกรม Microsoft Word
- แยกใบวางบิลชุดสำเนาออกมา และปั๊มวันที่ลงไปในชุดสำเนาทุกใบ จำนวน 120 รายการ
- ตั้งหนี้ลูกหนี้ต่างประเทศ จำนวน 45 รายการ
- แยก receipt วันที่ 20-26 มกราคม 2554 โดยแยกเป็นกลุ่ม CT, IC, IN, EM, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ลูกหนี้บุคคล SP วันที่ 20-26 มกราคม 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แยกจดหมายส่งต่างประเทศชุดต้นฉบับใส่ซองน้ำตาล จำนวน 45 รายการ
- พิมพ์จดหมายเพิ่ม จำนวน 1 ฉบับ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- ส่งเอกสาร ณ แผนกบุคคล อาคาร 2 ชั้น 18
- เขียนใบไปรษณีย์จ่าหน้าซองถึงบริษัทต่างๆ ที่จะนำเอกสารไปวางบิล จำนวน 45 ฉบับ
- เก็บเอกสารชุดสำเนาที่แผนกต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานเข้าแฟ้มให้เรียบร้อย จำนวน 45 ชุด
- แยกบริษัทที่พี่แต่ละคนดูแล โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แยกกลุ่ม receipt วันที่ 28 มกราคม 2554 โดยแยกเป็น CT, IC, IN, EM, OT, RL, RP, SP และคำนวณผลรวมตั้งแต่ 60 วันขั้นไปที่เก็บเงินค่ารักษาได้ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ปั๊มตราแผนกนิติการและติดตามหนี้ ลงในใบไปรษณีย์ จำนวน 1000 แผ่น
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้การพิมพ์จดหมายภาษาอังกฤษ
- มีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ปัญหา
- ใบการันตีของบริษัทแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน จึงทำให้สับสน

แก้ไข
- ต้องดูให้ละเอียดว่าเป็นใบการันตีของบริษัทหรือไม่

20 มกราคม 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 12 ( 17-21 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- คีย์ Productivity เดือนธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ Productivity VS External Sat เดือนธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ Incident และ Incident Grade เดือนธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ OT Ratio และทำกราฟ เดือนธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ KPI#1 และ KPI#2 เดือนธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ DSO เดือนธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารข้อมูลผู้ป่วย จำนวน 70 แผ่น
- คีย์หา H/N ผู้ป่วยในระบบ SSB จำนวน 70 รายการ
- คีย์รับเอกสารผิดพลาดที่บัญชีส่งกลับมา จำนวน 100 รายการ
- คีย์ข้อมูลลูกหนี้คดีความ โดยดูข้อมูลจากแฟ้มคดีทั้งหมด 80 แฟ้ม พร้อมทั้งเก็บแฟ้มเรียงลำดับเลขที่คดีให้เรียบร้อย
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 20 รายการ
- ทำใบปะหน้าและพิมพ์ซองขาวและซองน้ำตาล แล้วนำเอกสารวางบิลผนึกลงซอง จำนวน 30 รายการ
- คีย์เครดิตผิดพลาด จำนวน 20 รายการ ลงในโปรแกรม Microsoft Excel
- ทำกราฟแสดงเครดิตผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ลูกหนี้ SP รายใหม่ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์อัตราการวางบิล โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์ receipt เงินที่เก็บได้จากค่ารักษา โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- พิมพ์ชื่อที่อยู่ของบริษัทคู่สัญญา เพื่อออกจดหมายทวงถามการจ่ายชำระหนี้ โดยโปรแกรม Microsoft Word จำนวน 30 รายการ
- พิมพ์จดหมายร้องเรียนเรื่องค้างชำระ จำนวน 3 ฉบับ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- ดึง receipt วันที่ 15-19 มกราคม 2554 ในระบบ Oracle
- แยกประเภท receipt ออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ CT, IC, IN, EM, OT, RL, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขตาราง Productivity ทำเตรียมไว้เพื่อนำข้อมูลที่อัปเดตมาใส่ ในการทำรายงานส่งแต่ละเดือน ของปี 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ลงเงินรับเช็คในสมุดบัญชี จำนวน 30 รายการ
- คำนวณผลต่างและเปอร์เซ็นต์ของ allowan ปี 51-53 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้วิธีการดึง receipt จากระบบ Oracle
- มีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ปัญหา
- ดึง receipt ในระบบ Oracle ไม่เป็น

แก้ไข
- ให้พี่ช่วยสอนให้

13 มกราคม 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 11 ( 10-14 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- ส่งเอกสาร ณ ฝ่ายบุคคล อาคาร 2 ชั้น 18 จำนวน 1 แฟ้ม
- จัดทำกราฟข้อมูลเครดิตผิดพลาด ปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำตารางรวม Productivity ทั้งปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำกราฟลูกหนี้บุคคล SP ทั้งปี 2553 โดยดูจากตาราง KPI#2 จัดทำโดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำกราฟ receipt ทั้งปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 40 รายการ
- คีย์ข้อมูลเครดิตผิดพลาด ลงในโปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 40 รายการ
- จัดทำลูกหนี้บุคคล SP ของเดือนมกราคม โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำ receipt ของเดือนมกราคม โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำการตรวจสอบอัตราการวางบิล ปี 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตรวจสอบใบวางบิล, ใบวินิจฉัยโรคฉบับสั้น, บัตรประชาชน, จำนวนเงินค่ารักษา จำนวน 1200 รายการ
- แก้ไขสูตร receipt โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขตัวเลขใบวางบิลรวมทั้งหมดระหว่าง IPD และ OPD ให้ถูกต้อง โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ค้นหา Invoice ในระบบ Oracle ว่ามียอดเงินตรงกับโค้ดของบัญชีหรือไม่ จำนวน 30 รายการ
- เขียนจ่าหน้าซอง และผนึกใบวางบิลลงซองน้ำตาล จำนวน 20 ซอง
- ค้นหาที่อยู่ของบริษัท ที่จะนำเอกสารไปวางบิลในระบบ SSB จำนวน 400 รายการ
- นำเลขที่กรมธรรม์ใส่ให้ตรงกับชื่อผู้ป่วย จำนวน 70 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- นำที่อยู่ของบริษัทแนบกับใบแจ้งหนี้ฉบับสำเนาของบริษัทเดียวกัน จำนวน 400 รายการ
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 20 รายการ
- พิมพ์ซองจดหมายจ่าหน้าซองถึงบริษัทที่จะนำเอกสารไปวางบิล โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- นำเอกสารใส่ซองและประทับตราแผนก จำนวน 10 รายการ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้วิธีค้นหา Invioce ในระบบ Oracle
- ได้เรียนรู้วิธีการค้นหาที่อยู่ของบริษัทที่จะนำเอกสารไปวางบิลในระบบ SSB

ปัญหา
- ค้นหา Invoice ในระบบ Oracle ไม่เป็น
- ค้นหาที่อยู่บริษัทในระบบ SSB ไม่เป็น
- เวลาปริ้น เครื่องไม่ดึงกระดาษอัตโนมัติ

แก้ไข
- ให้พี่ช่วยสอนให้
- ต้องไปกดปุ่ม start ที่เครื่องปริ้นทุกครั้งที่ปริ้นซอง

9 มกราคม 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 10 ( 4-7 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- บันทึกการตัดหนี้ลงสมุดบัญชี จำนวน 25 รายการ
- แก้ไขไฟล์ประชุมฝ่ายส่งผู้บริหารรายเดือน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เช็คยอดเงินคงค้างในระบบ oracle ว่าตรงกันกับเอกสารหรือไม่ จำนวน 500 รายการ
- ช่วยพี่ดุรายการติดตามการจ่ายชำระหนี้ในแฟ้มคดีความ จำนวน 25 รายการ
- คีย์ลูกหนี้บุคคลทั่วไป ปี 53 โดยคีย์วันที่วางบิล และยอดเงินที่อัปเดตที่สุดลงไป โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตั้งหนี้ในแฟ้ม จำนวน 570 รายการ
- คีย์รายงานค่ารักษา ปี 53 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตรวจสอบยอดเงินค่ารักษาคงค้างในเอกสาร และระบบ SSB จำนวน 500 รายการ
- ลงเงินรับเช็คในสมุดบัญชี จำนวน 55 รายการ
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งแผนกบัญชี จำนวน 10 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- รับเอกสาร ณ อาคาร 1 ชั้น 5 ห้องผู้ช่วย ผอ. จำนวน 1 แฟ้ม
- ปรับปรุงยอดค้างชำระค่ารักษาในระบบ SSB จำนวน 200 รายการ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้วิธีการเช็คยอดเงินในระบบ Oracle
- ได้เรียนรู้การใช้งานระบบ SSB

ปัญหา
- เช็คยอดเงินคงค้างในระบบ Oracle ไม่เป็น
- ใช้งานระบบ SSB ไม่เป็น

แก้ไข
- ให้พี่ๆช่วยสอนให้

29 ธันวาคม 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 9 ( 27-30 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- แยกใบวางบิลชุดสำเนาออกมา และปั๊มวันที่ลงในชุดสำเนาทั้งหมด จำนวน 450 รายการ
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 80 รายการ
- คีย์เครดิตผิดพลาดลงในโปรแกรม Microsoft Excel
- ตัดหนี้ในแฟ้ม จำนวน 20 รายการ
- บันทึกรายการตัดหนี้ลงสมุดบัญชี จำนวน 20 รายการ
- ติดเทปปากกากับดินสอ และนำสติ๊กเกอร์ติดประดับ จำนวน 70 ชุด
- พิมพ์จดหมายร่างบันทึกข้อตกลงชำระค่ารักษา โดยโปรแกรม Microsoft Word
- พิมพ์จดหมายใบแจ้งหนี้ให้แก่บริษัท 2 บริษัท ทั้งหมด 400 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ปั๊มลายเซ็นต์ผู้จัดการแผนก ลงใบเสร็จ จำนวน 30 รายการ พร้อมเรียงรหัส
- คำนวณรายละเอียดการตัดหนี้สูญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ CT, IN, SP, เครดิตผิดพลาด, ตรวจสอบ OPD และ ลูกหนี้คดี โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารเครดิตผิดพลาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ใบแจ้งหนี้ผู้ป่วย, ใบรับรองแพทย์/ใบเคลม, ใบปฏิเสธการจ่ายค่ารักษา จำนวน 100 ชุด


ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- ทำงานอย่างมีระบบมากขึ้น

ปัญหา
- พิมพ์ตัวเลขจำนวนเงินผิด เมื่อรวมยอดเงินทั้งหมดออกมาไม่ตรงกับต้นฉบับ

แก้ไข
- ตรวจสอบตัวเลขใหม่ให้ถูกต้อง

23 ธันวาคม 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 8 ( 20-24 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- แก้ไขการคำนวณ DSO ของเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขตาราง Productivity, ตารางเวลาการทำงาน, ตาราง External & Productivity, ตาราง Incident, ตาราง Incident Grade, ตาราง KPI#1 และ KPI#2 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คำนวณตารางรายได้รวมสุทธิ VS AGING VS สำรองหนี้ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขตารางค่าเฉลี่ยการชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2553 โดยแยกเป็นกลุ่มของ CT, IC, IN, RP, SP โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำตัวอักษร ติดตามชั้นวางเอกสาร โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดเรียงเอกสารใส่แฟ้มบริษัทให้ถูกต้อง จำนวน 50 แฟ้ม
- เขียนใบปะหน้าเครดิตผิดพลาด จำนวน 20 รายการ
- คีย์เครดิตผิดพลาดลงในโปรแกรม Microsoft Excel
- ตัดหนี้เงินโอนธนาคารกสิกรไทย ในแฟ้มเงินโอน จำนวน 25 รายการ
- จัดทำเบอร์โอนภายในแผนก ละเบอร์ติดต่อส่วนตัวของพี่ในแผนกทุกคน โดยโปรแกรม Microsoft Excel แล้วนำไปติดที่โต๊ะทำงานของพี่ๆให้เรียบร้อย
- แก้ไขตารางระยะเวลาเก็บหนี้ โดยแยกเป็น 8 กลุ่ม คือ CT, IC, IN, SP, RP, RL, EM, OT โดยโปรแกรม Microsoft Excel และสร้างกราฟเส้นแสดงด้วย
- ถ่ายเอกสารใบแจ้งหนี้ค่ารักษาฉบับสำเนา จำนวน 50 แผ่น
- แยกใบวางบิลชุดสำเนาออกมา และปั๊มวันที่ลงในชุดสำเนาทั้งหมด จำนวน 300 รายการ
- เขียนชื่อ-สกุลพนักงาน, รหัสพนักงาน, เลขเรื่อง ลงในใบเสร็จ จำนวน 40 รายการ
- นำเอกสารที่พนักงานส่งเอกสารรับกลับมาจากบริษัทที่ไปวางบิล ใส่แนบกลับใบปะหน้าให้เลขเรื่องตรงกัน จำนวน 100 รายการ
- ตัดหนี้ในแฟ้ม จำนวน 40 รายการ
- บันทึกการตัดหนี้ในสมุดบันทึก จำนวน 40 รายการ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้เรื่องการตัดหนี้
- ได้เรียนรู้เรื่องสูตรการทำ DSO ของแผนกนิติการและติดตามหนี้
- ทำงานอย่างมีระบบมากขึ้น

ปัญหา
- กระดาษติดในเครื่องถ่ายเอกสาร จึงทำให้เครื่องขัดข้อง

แก้ไข
- ให้พี่ช่วยสอนวิธีแก้ไขเมื่อกระดาษติด

17 ธันวาคม 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 7 ( 13-17 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- คีย์ข้อมูลเงินค้างชำระของบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปี 2544 - 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารใบส่งตัวผู้ป่วยของบริษัทต่างๆ จำนวน 550 ใบ
- ถ่ายเอกสารเกี่ยวกับคดีความ จำนวน 15 แผ่น

- เขียนจ่าหน้าซองใบไปรษณีย์ จำนวน 8 ฉบับ
- ตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วย, บัตรประกัน, ใบรับรองแพทย์, ใบเสร็จรับเงิน, ใบค่ายา พร้อมทั้งปั๊มตราประทับโรงพยาบาลลงในใบวางบิล, ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 200 รายการ
- ถ่ายเอกสารข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยนอกในวันที่ 5 ก.ย. 2553 จำนวน 2 แผ่น แล้วส่ง fax ไปให้บริษัทที่ขอข้อมูลมา
- ตรวจสอบชื่อผู้ป่วย, วันหมดอายุบัตรประกัน, ใบเคลมของบริษัท, ใบค่ายา, เงินคุ้มครอง OPD จำนวน 3300 รายการ
- ถ่ายเอกสารข้อมูลการรักษา จำนวน 50 แผ่น
- แยกประเภทการวางบิล เดือน พ.ย. 2553 โดยแยกดังนี้ กลุ่มของ CT, IC, IN, SP, RP, EM, OT, RL โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขตาราง KPI ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารใบปะหน้าใบวางบิล จำนวน 15 แผ่น
- คำนวณการตัดหนี้สูญครั้งที่ 3 โดยมีรายการคำนวณ ดังนี้ CT, IN, SP, ตรวจสอบ OPD, เครดิตผิดพลาด, คดีความ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตรวจสอบรายชื่อ, บัตรพนักงาน, ใบรับรองแพทย์, ใบค่ายา และปั๊มตราประทับโรงพยาบาลลงในใบวางบิลและใบรับรองแพทย์ จำนวน 1200 รายการ
- ตรวจสอบรายชื่อ, ใบรับรองการตรวจสุขภาพ, บัตรประชาชน จำนวน 500 รายการ
- ตั้งหนี้ในสมุดบัญชี จำนวน 300 รายการ
- นำเช็ค/เงินโอนเข้าบัญชีโรงพยาบาลในสมุดบันทึก จำนวน 30 รายการ
- ถ่ายเอกสาร OPD CARD ของคนไข้ จำนวน 6 ราย รวมทั้งหมด 10 แผ่น แล้วส่ง fax ไปให้กับบริษัท
- จัดหน้ากระดาษไฟล์ตัดหนี้สูญครั้งที่ 3 ปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel


ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- ได้เรียนรู้การเรื่องการตรวจสอบเอกสารก่อนนำไปวางบิล

ปัญหา
- เครื่องถ่ายเอกสารขัดข้อง
- บัตรประกันบางรายเงินค่ารักษาเกินจากเงินคุ้มครอง

แก้ไข
- สอบถามวิธีแก้ไขจากพี่ๆ
- ตรวจสอบในใบรับรองแพทย์ ถ้าสาเหตุโรคเกิดจากอุบัติเหตุสามารถคุ้มครองได้

9 ธันวาคม 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 6 ( 7-9 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบรายชื่อ, ปั๊มตราประทับโรงพยาบาลลงในใบวางบิล และใบวินิจฉัยโรค, ตรวจบัตรประชาชน/บัตรพนักงาน, ใบส่งตัวผู้ป่วย, ใบค่ายา จำนวน 2000 รายการ
- รับเอกสาร ณ ห้องผู้ช่วย ผอ. อาคาร 1 ชั้น 5 จำนวน 1 แฟ้ม
- เพิ่มสูตร SUM TOTAL ในไฟล์การไหล และคำนวณหา 95% ของ SUM TOTAL โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 4 รายการ
- ถ่ายเอกสารผู้ป่วยค้างชำระ ได้แก่ ใบปะหน้า, ใบแจ้งหนี้, ใบวินิจฉัยโรค และใบปฏิเสธของบริษัท จำนวน 300 ชุด
- ปั๊มตราประทับลงในเอกสารผู้ป่วยค้างชำระที่สำเนาไว้ จำนวน 150 ชุด
- แยกใบวางบิลชุดสำเนาออกมา และปั๊มวันที่ลงในชุดสำเนาทุกใบ จำนวน 300 รายการ
- ปั๊มตราประทับโรงพยาบาล ลงในใบวางบิล และใบวินิจฉัยโรค จำนวน 60 รายการ
- นำเอกสารใส่ซองน้ำตาล และเขียนจ่าหน้าซอง พร้อมทั้งปิดผนึกให้เรียบร้อย จำนวน 30 ซอง
- คีย์ข้อมูลเงินค้างชำระในคดีความ โดยโปรแกรม Microsoft Excel

ปัญหา
- ไม่ทราบว่าเอกสารผิดพลาดเป็นงานของใคร เพราะไม่ได้ระบุชื่อพี่ที่ดูแลกำกับไว้
- หมึกพิมพ์แห้ง เวลาปั๊มออกมาไม่ชัดเจน

แก้ไข
- สอบถามจากพี่ๆ แล้วค่อยคีย์ลงไป
- เติมหมึกพิมพ์ลงไปในตลับหมึก

2 ธันวาคม 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 5 ( 29-3 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- แยกใบวางบิลชุดสำเนาออกมา และปั๊มวันที่ลงไปในชุดสำเนาทุกใบ จำนวน 180 รายการ
- ตั้งหนี้ในสมุดบัญชี จำนวน 130 รายการ
- ตรวจสอบใบวางบิล, ใบวินิจฉัยโรค, ใบส่งตัว, สำเนาบัตรประชาชน/บัตรพนักงาน, ใบค่ายา จำนวน 150 รายการ พร้อมทั้งปั๊มตราประทับโรงพยาบาลลงในใบวางบิล และใบวินิจฉัยโรคด้วย
- คีย์รายงานเอกสารผิดพลาดส่งบัญชีของเดือน ธันวาคม 2553 จำนวน 3 รายการ โดยโปรแกรม Mirosoft Excel พร้อมนำเอกสารนั้นใส่ซองน้ำตาลและผนึกให้เรียบร้อย
- ซ่อมแฟ้มเอกสารเก่าปี 34 จำนวน 1 แฟ้ม
- จัดหน้ากระดาษของตารางการตัดหนี้สูญทั้งหมด 9 sheet พร้อมทั้งสั่งพิมพ์ และตรวจสอบรายชื่อ, เลขที่ใบวางบิล และยอดเงิน ให้ตรงกับในระบบ oracle
- แยกใบเสร็จแนบกับใบวางบิลให้รายชื่อตรงกัน และปั๊มตราประทับชื่อผู้จัดการแผนกนิติการฯ ลงในใบเสร็จตัวต้นฉบับและสำเนา จำนวน 20 รายการ
- ถ่ายเอกสารแฟ้มผู้ป่วยนอก จำนวน 5 แฟ้มใหญ่
- ทำการลบข้อมูล CT ที่ไม่ได้ไฮไลท์สีไว้ พร้อมทั้งเรียงลำดับเลขด้วย โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- หาผลต่างและเปอร์เซ็นต์ของการเก็บเงินค่ารักษาของผู้ป่วย ตั้งแต่เดือนมกราคม - ตุลาคม 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารสัญญาการจ่ายค่ารักษา จำนวน 15 แผ่น
- ตั้งหนี้บัญชีแพทย์ จำนวน 20 รายการ
- ตั้งหนี้ Alpha Lab จำนวน 40 รายการ
- บันทึกรายการตัดหนี้ส่งบัญชี ลงในบันทึกเล่มแดง จำนวน 100 รายการ
- คีย์ข้อมูลเงินค้างชำระในคดีความ โดยกรอกข้อมูล ดังนี้ ลำดับเลขที่คดีความ, รหัสผู้ป่วย, ชื่อผู้ป่วย, เลขที่บัตรประชาชนผู้ป่วย, ชื่อผู้ค้ำประกัน, เลขที่บัตรประชาชนผู้ค้ำประกัน, ยอดเงินคงค้าง เป็นต้น จำนวน 30 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ส่ง fax จำนวน 20 แผ่น
- รับเอกสาร ณ แผนกเวชระเบียน อาคาร 1 ชั้น 1 จำนวน 7 แฟ้ม
- ส่งเอกสารให้แพทย์ ณ ศูนย์กระดูก อาคาร 1 ชั้น 4 จำนวน 1 แฟ้ม
- ปั๊มตราประทับผู้จัดการแผนกนิติการฯ ลงในใบเสร็จ จำนวน 15 รายการ
- รับเอกสารที่เคาน์เตอร์ ณ ศูนย์กระดูก อาคาร 1 ชั้น 4 จำนวน 1 แฟ้ม
- ปั๊มตราประทับแผนกนิติการฯ ลงในใบไปรษณีย์ จำนวน 1000 แผ่น
- คีย์เอกสารผิดพลาดส่งบัญชี จำนวน 3 รายการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีความรับผิดชอบมากขึ้น
- ได้เรียนรู้เรื่องการตรวจสอบเอกสารก่อนนำไปวางบิล

ปัญหา
- ส่ง fax ไม่ได้ เพราะทางบริษัทที่เราจะส่ง fax ไปให้ ไม่เปิดสัญญาณ fax
- ตราประทับแผนกนิติการฯ งอจึงไม่สามารถปั๊มได้สมบูรณ์และสวยงาม
แก้ไข
- โทรไปบอกให้ทางบริษัทเปิดสัญญาณ fax ก่อน
- ใช้ครีมดัดให้ตรงก่อน แล้วค่อยปั๊มใหม่

25 พฤศจิกายน 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 4 ( 22-26 พฤศจิกายน 2553 )

การปฏิบัติงาน
- เรียงใบเอกสารแจ้งหนี้ค่ารักษาคนไข้นอก จำนวน 100 รายการ
- รับเอกสาร ณ ห้องผู้ช่วย ผอ. อาคาร 1 ชั้น 5, แผนกบัญชี อาคาร 2 ชั้น 18
- เก็บแฟ้มเอกสารใส่ลิ้นชักโดยเรียงลำดับเลขด้วย จำนวน 20 แฟ้ม
- เขียนชื่อพนักงาน, รหัสพนักงาน และเลขที่วางบิลลงในใบเสร็จ พร้อมทั้งปั๊มตราประทับผู้จัดการแผนก จำนวน 15 รายการ
- ถ่ายเอกสารใบสรุปแจ้งหนี้ค่ารักษา จำนวน 10 ชุด
- ถ่ายเอกสารเกี่ยวกับคดีความ จำนวน 20 ชุด
- เรียนรู้การใช้โทรศัพท์สำนักงาน และการโอนสายภายใน
- คีย์รายชื่อผู้ป่วยนอกลงในใบวางบิล จำนวน 150 รายการ
- ตัดหนี้สูญลงเล่มบัญชี จำนวน 600 รายการ
- ซ่อมแฟ้มเอกสารเก่าปี 33-34 จำนวน 6 แฟ้มใหญ่
- ลงบันทึกบัญชีการตัดหนี้ จำนวน 15 รายการ
- จัดเรียงใบงานพนักงานรับเงินและวางบิล จำนวน 200 รายการ
- เขียนใบปะหน้าค่ารักษา จำนวน 20 รายการ
- ตั้งหนี้ในสมุดบัญชี จำนวน 80 รายการ
- ทำการแยกบริษัท และรวมยอดเงินของกลุ่มต่างๆ จำนวน 6 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ CT, IC, IN, RP, SP และ OT โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แยกเอกสารใบวางบิลชุดสำเนาออกมา และปั๊มวันที่ลงในใบวางบิลทุกใบ จำนวน 80 รายการ
- คีย์รายละเอียดของบัญชีหนี้เครดิตผิดพลาดปี 2553 เกี่ยวกับการจ่ายเงินคงค้าง จำนวน 40 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้การใช้โทรศัพท์ และการโอนสายภายในโรงพยาบาลพญาไท 2
- ได้เรียนรู้ถึงประเภทของใบเสร็จรับเงิน

ปัญหา
- ลำดับเลขที่พี่เขียนไว้ซ้ำกัน
- กระดาษที่เจาะรูไว้ขาดจึงใส่แฟ้มไม่ได้
- บัญชีหนี้บางรายการมีใบเสร็จต่างกัน จึงไม่เข้าใจ
- ชื่อบริษัทบางชื่อคล้ายกัน จึงทำให้แยกกลุ่มลำบาก
- ปั๊มวันที่ผิดลงในตัวต้นฉบับ

แก้ไข
- แก้ลำดับเลขใหม่
- นำสก็อตเทปติดซ่อมแซมให้เรียบร้อย
- ให้พี่ๆ อธิบายให้ฟัง
- สอบถามชื่อบริษัทจากพี่ๆ แล้วจึงแยกกลุ่ม
- ลบรอยปั๊มออก และนำตราประทับโรงพยาบาลปั๊มทับตรงรอยลบ

19 พฤศจิกายน 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 3 ( 15-19 พฤศจิกายน 2553 )

การปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบรายชื่อใบวางบิล และใบค่ายา จำนวน 450 รายการ
- ลงบันทึกรายการค้างชำระของผู้ป่วย ที่เป็นข้อยกเว้นบริษัทประกันไม่คุ้มครอง จำนวน 30 รายการ
- ส่งเอกสารที่แผนกบัญชี ณ อาคาร 2 ชั้น 18
- แยกใบวางบิลให้วันที่ตรงกับวันที่ของใบรายชื่อผู้ป่วย จำนวน 150 รายการ
- คีย์แบบเรียกเก็บค่าฟอกเลือดโครงการประกันสังคมไตเทียม โดยคีย์เลขที่ใบแจ้งหนี้, วันที่ฟอกเลือด และจำนวนเงิน พร้อมสั่งพิมพ์ จำนวน 100 รายการ
- นำเอกสารใส่ซองน้ำตาล พร้อมนำสติ๊กเกอร์ที่พิมพ์จ่าหน้าวองไว้ติดบนซองและใบไปรษณีย์พร้อมผนึกให้เรียบร้อย จำนวน 25 รายการ
- จัดเรียงใบแจ้งหนี้ให้ยอดเงินและเลขรหัสตรงกับใบสรุปแจ้งหนี้ จำนวน 20 รายการ
- คีย์เรื่องการไหลของการชำระเงิน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เดินส่งเอกสาร ณ ห้องธุรการ อาคาร 2 ชั้น 19 ห้องบัญชี อาคาร 2 ชั้น 18 ห้องบริหารการเงิน อาคาร 2 ช้น 16 และห้องผุ้ช่วย ผอ. อาคาร 1 ชั้น 5
- ทำกราฟแสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Target และ Receipt โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ทำการตัดหนี้ในโปรแกรม Oracle และลงบันทึกในเล่มบัญชี พร้อมทั้งตัดหนี้ในเล่มบัญชีด้วย จำนวน 12 รายการ
- เรียนรู้การตรวจรายงานจากพี่ๆ เกี่ยวกับการกำหนดค่างวดให้กับผู้ป่วย
- เรียนรู้การออกใบเสร็จ จำนวน 10 รายการ
- พิมพืใบสรุปแจ้งหนี้ค่ารักษาคนไข้นอก จำนวน 2 รายการ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้การเข้าระบบ Oracle
- ได้เรียนรู้เรื่องการออกใบเสร็จ

ปัญหา
- ใบวางบิลบางรายการ ไม่มีใบค่ายา
- ลืมเขียนเลขที่กำกับเอกสารในซอง จึงต้องแกะซอง
- ข้อมูล Target มีไม่ครบ
- ไม่เข้าใจระบบ Oracle
- ไม่เข้าใจการออกใบเสร็จ

แก้ไข
- แยกใบวางบิลไว้ต่างหาก
- ปั๊มตราประทับโรงพยาบาลตรงที่ปิดผนึก
- สอบถามจากพี่ๆ เกี่ยวกับข้อมูลที่ขาดหายไป
- ให้พี่ๆ อธิบายเกี่ยวกับการใช้งานระบบ Oracle
- ช่วยให้พี่ๆ อธิบายเรื่องการออกใบเส็จให้ฟัง

14 พฤศจิกายน 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 2 ( 8-12 พฤศจิกายน 2553 )

การปฏิบัติงาน
- นำเอกสารใส่ซองน้ำตาล พร้อมทั้งเขียนจ่าหน้าซองลงในใบไปรษณีย์ จำนวน 92 ชุด
- จัดทำเอกสารส่งให้แผนกบัญชี ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เรียงลำดับใบวางบิล ตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วย และปั๊มตราประทับโรงพยาบาล จำนวน 669 รายการ
- แก้้ไขสูตรการคำนวณค่าเฉลี่ยการชำระเงิน ตั้งแต่เดือน มกราคม-กันยายน พร้อมทั้งสร้างกราฟแสดงข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel
- ลงบันทึกเอกสารผิดพลาดส่งให้แผนกบัญชี โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ตรวจสอบรายชื่อใบวางบิลค่าตรวจร่างกาย ให้ตรงกับใบสรุปแจ้งหนี้ค่ารักษาคนไข้นอก พร้อมทั้งตรวจรายชื่อในบัตรประชาชนด้วย จำนวน 382 รายการ
- แยกกลุ่มบริษัทในเครือ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แก้ไขกราฟของค่าเฉลี่ยเวลาการจ่ายเงินเดือนตั้งแต่ มกราคม-กันยายน 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
- สร้างกราฟของระยะเวลาเก็บหนี้ปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้วิธีการตรวจเอกสารก่อนนำไปวางบิล
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานมากขึ้น

ปัญหา
- ซองน้ำตาลบางซอง ไม่ได้พิมพ์ที่อยู่ของบริษัท
- การ save ชื่อไฟล์ซ้ำซ้อนกัน ทำให้การทำงานล่าช้า
- ใบบิลค่าตรวจร่างกายเกินมา 1 รายการ

แก้ไข
- ส่งให้พี่ๆ พิมพ์ซองน้ำตาลก่อนที่จะนำเอกสารบรรจุลงซอง
- ทำการแก้ไขชื่อไฟล์ใหม่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน
- แยกเอาไว้ต่างหาก

7 พฤศจิกายน 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 1 ( 1-5 พฤศจิกายน 2553 )

การปฏิบัติงาน
- ปรับปรุงข้อมูลค่าจ้างและ OT ของพนักงานแผนกนิติการฯ โดยโปรแกรม Microsoft Powerpoint
- ปรับปรุงข้อมูล KPI 3 เดือน
- ลงบัญชีหนี้ และแยกระหว่างต้นฉบับและสำเนา จำนวน 170 รายการ
- ปั๊มตราแผนกนิติการฯ ลงใบไปรษณีย์ จำนวน 500 แผ่น
- ปรับปรุงข้อมูลค่าเฉลี่ยเวลาการจ่ายเงินเดือนปี 2553 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เดินรับ-ส่งเอกสาร ณ ห้องบัญชี ห้องฝ่ายบุคคล
- จัดทำตารางเวรของปี 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสาร จำนวน 4 แฟ้ม
- ส่ง Fax เกี่ยวกับใบวินิจฉัยโรค จำนวน 40 ใบ
- ตรวจสอบความถูกต้องใบสรุปแจ้งหนี้ค่ารักษาคนไข้นอก ได้แก่ ตรวจเลขที่ใบสำคัญ, ชื่อผู้ป่วย, วันที่, บริษัทที่พนักงานสังกัด เป็นต้น จำนวน 300 รายการ
- ปั๊มตราประทับโรงพยาบาลพญาไท2 ลงในใบสรุปแจ้งหนี้ค่ารักษา และใบวินิจฉัยโรค พร้อมทั้งตรวจสอบรายชื่อในใบส่งตัวผู้ป่วยด้วย จำนวน 650 รายการ
- ตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วย, ลายเซ็นต์ผู้ป่วย, ตราประทับโรงพยาบาล, บัตรประชาชน, วันหมดอายุของบัตรประกันสุขภาพกลุ่ม และใบบิลค่ารักษา จำนวน 555 รายการ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้รู้จักกับชีวิตการทำงาน
- ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี
- ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของแผนกนิติการและติดตามหนี้
- ได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ
- ได้เรียนรู้เรื่องการส่งเอกสารผ่านทาง Fax
ปัญหา
- ไม่เข้าใจงานบัญชีหนี้ เพราะมีสาขาที่ซ้ำกัน
- ตราประทับแผนกชำรุด ปั๊มแล้วไม่ชัดเจน
- จำทางที่ไปรับ-ส่ง เอกสารไม่ได้
- ส่ง Fax ไม่เป็น
- ใบวางบิลบางรายการถูกยกเลิก

แก้ไข
- ช่วยให้พี่ๆอธิบายงานให้
- เปลี่ยนตราประทับอันใหม่
- สอบถามเส้นทางจากพนักงานในระแวกนั้น
- ช่วยให้พี่ๆสอนใช้งานเครื่องส่ง Fax
- สอบถามกับพี่ๆ ว่าจะให้ทำยังไงต่อไป

15 ตุลาคม 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3
1.สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้
2.ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแขนงบริหารในด้านอื่นๆ
3.ทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น
4.รู้จักวางแผนการทำงาน
5.ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.มีความรอบคอบในการตรวจเช็คชิ้นงานมากขึ้น
7.มีความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ
8.มีวินัยในการทำงานมากขึ้น
9.ตรงต่อเวลา
10.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย

8 กันยายน 2552

DTS 11-08/09/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Sorting
การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบ มีแบบแผน ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ควรคำนึงถึง
1. เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม
2. เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตามโปรแกรมที่เขียน
3. จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอหรือไม่

วิธีการเรียงลำดับ
1. การเรียงลำดับแบบภายใน (internal sorting) = เรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
2. การเรียงลำดับแบบภายนอก (external sorting) = เรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง
การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)
1. รอบแรก ทำการค้นหาข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยที่สุดมาเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่ 1
2. รอบที่สอง นำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยรองลงมาไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่ 2
3. ทำไปเรื่อยๆจนครบทุกค่าและจะได้ข้อมูลที่เรียงลำดับจากน้อยไปมากตามที่ต้องการ
ข้อดี = ง่ายและตรงไปตรงมา
ข้อเสีย = ใช้เวลาในการจัดเรียงนาน

การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort)
ใช้เปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน จะเริ่มจากคู่แรกหรือคู่สุดท้ายก่อนก็ได้ วิธีนี้เป็นที่นิยมมากเพราะมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย แต่ประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำพอๆ กับการเรียงลำดับแบบเลือก
1. ถ้าข้อมูลทั้งสองไม่อยู่ในลำดับที่ถูกต้องให้สลับตำแหน่งที่อยู่กัน
2. ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ให้นำข้อมูลตัวที่น้อยกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มาก
แต่ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากมากไปน้อยให้นำข้อมูล ตัวที่มากกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่น้อย
จำนวนครั้งของการเปรียบเทียบ มี 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีที่ดีที่สุด (Best Case) = จะเปรียบเทียบในรอบแรกรอบเดียวเท่านั้น
2. กรณีที่แย่ที่สุด (Worst Case) = n(n-1)/2 ครั้ง

7 กันยายน 2552

DTS 10-01/09/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Graph
กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นรนำไปแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน ประกอบด้วย
1. โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์
(Vertexes)
2. เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
กราฟมี 2 แบบ คือ
1. กราฟแบบมีทิศทาง หรือ ไดกราฟ (Digraph) = ต้องมีหัวลูกศรกำกับทิศทาง โดยมีโหนดเริ่มต้น และ โหนดสิ้นสุด
2. กราฟแบบไม่มีทิศทาง = ไม่มีหัวลูกศรกำกับทิศทาง
กราฟแตกต่างจากทรี ตรงที่กราฟวนเข้าหาตัวมันเองได้
การแทนกราฟในหน่วยความจำ
สิ่งที่จัดเก็บโดยทั่วไป คือ เอ็จ เพราะจะได้รู้ว่าไปที่ไหนได้บ้าง วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ แต่จะเปลืองเนื้อที่
สำหรับโหนด 1 มิติ ไม่เหมาะกับกราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงควรใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์(Adjacency List) ซึ่งคล้ายกับการจัดเก็บโหนดและพอยเตอร์ แต่ว่าต่างกันที่ ใช้ลิงค์ลิสแทนวิธีนี้จะทำได้ง่ายกว่า แต่เขียนโปรแกรมยากกว่า

31 สิงหาคม 2552

DTS 09-25/08/2552

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Tree
Treeเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น(Hierarchical Relationship) ส่วนมากจะใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
ชื่อเรียกโหนดต่างๆ
1. โหนดแม่ (Parent or Mother Node) = โหนดที่มีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมาหนึ่งระดับได้หลายๆโหนด
2. โหนดลูก (Child or Son Node) = โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่หนึ่งระดับ
3. โหนดราก (Root Node) = โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่
4. โหนดพี่น้อง (Siblings) = โหนดที่มีโหนดแม่เดียวกัน
5. โหนดใบ (Leave Node) = โหนดที่ไม่มีโหนดลูก
6. กิ่ง (Branch) = เส้นเชื่อม
นิยามของทรี
1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟ
ทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) โหนดสองโหนดใดๆ ในทรีจะติดต่อกันได้ทางเดียวเท่านั้นและทรีที่มี N โหนด จะต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
การเขียนรูปแบบทรี เขียนได้ 4 แบบ คือ
- แบบที่มีรากอยู่ด้านบน
- แบบที่มีรากอยู่ด้านล่าง
- แบบที่มีรากอยู่ด้านซ้าย
- แบบที่มีรากอยู่ด้านขวา
2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟ
ทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด ถ้าไม่มีโหนดใดๆ เรียกว่า นัลทรี (Null Tree) และถ้ามีโหนดหนึ่งเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็นทรีย่อย (Sub Tree)
นิยามที่เกี่ยวข้องกับทรี
1. ฟอร์เรสต์ (Forest) = กลุ่มของทรีที่เกิดจากการเอาโหนดรากออก
2. ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree) = ทรีที่โหนดต่างๆ มีความสัมพันธ์แน่นอน เช่น ไปทางขวา
ไปทางซ้าย
3. ทรีคล้าย (Similar Tree) = ทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลในแต่ละโหนด
4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) = ทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์ โดยต้องเป็นทรีที่คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่งเดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน
5. กำลัง (Degree) = จำนวนทรีย่อยของโหนดนั้นๆ
6. ระดับของโหนด (Level of Node) = ระยะทางในแนวดิ่งของโหนด ที่อยู่ห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง (Height) หรือความลึก (Depth)
การแทนที่ทรีในหน่วยความจำหลัก
1. โหนดแต่ละโหนดเก็บพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูกทุกโหนด
ทรีที่แต่ละโหนดมีจำนวนโหนดลูกที่แตกต่างกันมาก จะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำโดยเปล่าประโยชน์
2. แทนทรีด้วยไบนารีทรี
วิธีนี้ช่วยแก้ปัญหา การสิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำ โดยกำหนดให้แต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์ 2 ลิงค์ฟิลด์
- ลิงค์ฟิลด์แรก เก็บที่อยู่ของโหนดลูกคนโต
- ลิงค์ฟิลด์ที่สอง เก็บที่อยู่ของโหนดพี่น้องที่เป็นโหนดถัดไปโหนดใดไม่มีโหนดลูกหรือไม่มีโหนดพี่น้องให้ค่าพอยน์เตอร์ในลิงค์ฟิลด์มีค่าเป็น Null
การแปลงทรีทั่วไปให้เป็นไบนารีทรี
1. ให้โหนดแม่ชี้ไปยังโหนดลูกคนโต แล้วลบความสัมพันธ์ระหว่างโหนดแม่และโหนดลูกอื่นๆ
2. เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโหนดพี่น้อง
3. จับให้ทรีย่อยทางขวาเอียงลงมา 45 องศา
การท่องไปในไบนารีทรี มี 6 วิธี คือ
- NLR
- LNR
- LRN
- NRL
- RNL
- RLN
เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)
คือ การนำเอาโครงสร้างทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์โดยเป็นไบนารีทรี โดยคำนวณตามความสำคัญของเครื่องหมาย ดังนี้
- ฟังก์ชัน
- วงเล็บ
- ยกกำลัง
- เครื่องหมายหน้าเลขจำนวน (unary)
- คูณ หรือ หาร
- บวก หรือ ลบ
- ถ้ามีเครื่องหมายที่ระดับเดียวกันให้ทำจากซ้ายไปขวา

24 สิงหาคม 2552

DTS 08-11/08/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Queue
คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ซึ่งการเพิ่มข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่ง เรียกว่า ส่วนท้าย (rear)และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า(front)ลักษณะการทำงานของคิว คือ เข้าก่อนออกก่อน เรียกว่า FIFO (First In First Out)
การแทนที่ข้อมูลของคิว มี 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
2. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
การดำเนินการเกี่ยวกับคิว
1. Create Queue = การสร้างคิว
2. Enqueue = การใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิว
3. Dequeue = การนำสมาชิกออกจากคิว
4. Queue Front = การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงแต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
5. Queue Rear = การนำข้อมูลที่อยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงแต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
6. Empty Queue = การตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7. Full Queue = การตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่
8. Queue Count = การนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในคิว
9. Destroy Queue = การลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในคิว
การนำข้อมูลเข้าสู่คิว จะไม่สามารถนำเข้าในขณะที่คิวเต็ม หรือไม่มีที่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า overflow
การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า underflow

9 สิงหาคม 2552

DTS 06-04/08/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Stack
ลักษณะที่สำคัญของสแตก คือ ข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมาจากสแตกเป็นลำดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า LIFO (Last In First Out)
กระบวนการในการทำงานของสแตก ประกอบด้วย
1. Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก
2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก
ถ้าสแตกมีสมาชิกเพียง 1 ตัว แล้วถูก Pop ออก จะทำให้สแตกว่าง (Stack Empty) คือ ไม่มีสมาชิกอยู่ในสแตกเลยและถ้าเรา Pop แสตกนี้อีกครั้ง จะทำให้ เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Stack Underflow
การแทนที่ข้อมูลของสแตก ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1) Head Node จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2) Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์
การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก มีดังนี้
1. Create Stack = การสร้างสแตก
2. Push Stack = การเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตก
3. Pop Stack = การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
4. Stack Top = การคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก โดยไม่มีการลบข้อมูลออกจากสแตก
5. Empty Stack = การตรวจสอบการว่างของสแตก เพื่อป้องกัน Stack Underflow
6. Full Stack = การตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่ เพื่อป้องกัน Stack Overflow
7. Stack Count = การนับจำนวนสมาชิกในสแตก
8. Destroy Stack = การลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในสแตก
การประยุกต์ใช้สแตก
นำไปใช้ในงานด้านปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเก็บข่าวสารอันดับแรกสุดไว้ใช้หลังสุดเช่น โปรแกรมแปลภาษา การคำนวณนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
และรีเคอร์ชั่น (Recursion)
การคำนวณนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
1. นิพจน์ Infix นิพจน์รูปแบบนี้ ตัวดำเนินการ (operator) จะอยู่ตรงกลางระหว่างตัวถูกดำเนินการ 2 ตัว เช่น + - * / ( )
2. นิพจน์ Postfix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียนตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2 ก่อน แล้วตามด้วย operator
3. นิพจน์ Prefix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียนตัวดำเนินการก่อนแล้วตามด้วยตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการ (operand) จะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ (operator) จะนำค่าที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญ operator ที่อยู่บนสุดของสแตก
- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก
- ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตกขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infixหมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์Postfix
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Postfix เป็นนิพจน์ Infix
1. อ่านตัวอักษรในนิพจน์ Postfix จากซ้ายไปขวาทีละตัวอักษร
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการ ให้ทำการ push ลงในสแตก แล้วกลับไปอ่านอักษรตัวใหม่เข้ามา
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ ให้ทำการ pop ค่าจากสแตก 2 ค่าโดย ตัวแรกเป็นตัวถูกดำเนินการตัวที่ 2 และตัวที่ 1 ตามลำดับ
4. ทำการคำนวณตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 ด้วยตัวถูกดำเนินการตัวที่ 2 โดยใช้ตัวดำเนินการในข้อ 3
5. ทำการ push ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณในข้อ 4 ลงสแตก
6. ถ้าตัวอักษรในนิพจน์ Postfix ยังอ่านไม่หมดให้กลับไปทำข้อ 1 ใหม่

3 สิงหาคม 2552

DTS 05-28/07/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Linked List
ลิงค์ลิสต์ (Linked List)
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่างๆโดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมแต่ละอิลิเมนท์เรียกว่า โหนด (Node) ซึ่งแต่ละโหนด ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. Data = เก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ อาจจะเป็นรายการเดี่ยวหรือเป็นเรคคอร์ดก็ได้
2. Link Field = ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโหนดต่อไปในลิสต์เป็นส่วนที่เก็บตำแหน่งของโหนดถัดไป ในโหนดสุดท้ายจะเก็บค่า Null หรือ \0 เป็นตัวบ่งบอกการสิ้นสุดของลิสต์นั้นโหนดแรกของข้อมูล คือ Head Node
โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure ประกอบด้วย จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง
โหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure ประกอบด้วย ข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. Create List คือ การสร้าง Head Node
2. Insert Node คือ การรับข้อมูล Data Node
3. Delete Node = ใช้ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
4. Search list = ใช้ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการ
5. Traverse = ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและประมวลผล
6. Retrieve Node = ใช้หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์
7. EmptyList = ใช้ทดสอบว่าลิสต์ว่างหรือไม่
8. FullList = ใช้ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่
9. list count = ใช้นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
10. destroy list = ใช้สำหรับทำลายลิสต์
***ความรู้เพิ่มเติม***
1. overflow = ค่าที่มีมากเกินกว่าหน่วยความจำจะเก็บได้
2. underflow = ค่าที่มีน้อยมากจนไม่สามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำได้
3. ซูโดโค้ด ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรม
4. physical address คือ ที่อยู่ที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ซูโดโค้ด โปรแกรมต่างๆ
5. logical address คือ ที่อยู่ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น แนวความคิด
6. logical address จะถูกพัฒนาไปเป็น physical address
7. Data Node จะเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

การบ้าน iostream
#include"stdio.h"
#include"math.h"
#include"iostream.h"
void main()
{
int Number = 0;
while(Number <= 100)
{
Number++;
cout <<\n\n"****NUMBER****\n\n";
printf("%d\n",Number); Number++ ;
}
}

20 กรกฎาคม 2552

DTS 04-14/07/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Set and String
เซ็ต (Set)
จะประกอบด้วยตัวดำเนินการ ได้แก่ Union Intersection Difference Complement เป็นต้น ความรู้ต่างๆเหล่านี้ได้เคยเรียนมาแล้วตอนมัธยม และในภาษาซีก็จะนำหลักการในการดำเนินงานของเซ็ตมาใช้ด้วย
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String)
จะประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่างด้วย
สตริง คือ อะเรย์ของอักขระ การกำหนดค่าของสตริงนั้น จำเป็นต้องกำหนดพื้นที่เพิ่มอีกหนึ่งช่อง คือ เอาไว้เก็บค่า null character ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสตริงนั่นเอง ซึ่งตัวแปรนี้จะมีสัญลักษณ์ คือ \0 สมมติว่าเรากำหนดตัวแปร name ขึ้นมาแล้วกำหนดอะเรย์ไว้ 20 ช่อง เราจะสามารถป้อนอักขระเข้าไปได้ไม่เกิน 19 ตัว แต่ถ้าหากว่าผู้ใช้ป้อนอักขระไม่ถึง 19 ตัว ระบบก็จะเติม \0 ให้กับพื้นที่ว่างจนเต็ม แต่ถ้าหากว่าผู้ใช้ป้อนอักขระเกินกว่า 19 ตัว ก็จะไม่สามารถรันโปรแกรมออกมาได้ ดังนั้นเราจึงควรกำหนดช่องอะเรย์ให้เพียงพอ
ความแตกต่างของการใช้ฟังก์ชัน gets() เเละscanf( )
ฟังก์ชัน get() คือฟังก์ชันที่อ่านค่าจากแป้นพิมพ์และนำมาเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งก็คืออะเรย์ จนกว่าผู้ใช้จะกด Enter จะเติม null character ให้
ส่วน scanf()จะถือว่าค่าที่มีช่องว่างคั่นนั้นเป็นค่าคนละตัวกันและจะไม่เติม null characte

30 มิถุนายน 2552

DTS 03-30/06/2009

ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Array and Record

การกำหนดอะเรย์ จะต้องกำหนดชื่อของอะเรย์ และ Subscriptซึ่งเป็นตัวที่ใช้อ้างอิงถึงจำนวนสมาชิกของอะเรย์ และ Subscriptนี้ก็เป็นตัวบอกมิติของอะเรย์นั้นด้วยเช่นกัน อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีค่าคงที่ และเป็นข้อมูลชนิดเดียวกันเท่านั้น ตัวอย่างของอะเรย์ เช่น int a[3]={1,3,5} จะเห็นได้ว่าภายในวงเล็บก็คือ Subscript นั่นเอง ส่วนเซ็ต{1,3,5}นี้สามารถแจกแจงค่าออกมาให้ดูง่ายขึ้น ดังนี้ a[0]=1 , a[1]=3 , a[2]=5

Structureสามารถมีส่วนประกอบของข้อมูลหลายๆตัวรวมกันได้ เช่นint,float,char,pointer แม้กระทั่ง Structure ด้วยกันเองก็ได้เช่นกัน ส่วนเรื่องของ Pointer เป็นตัวแปรที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่(address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ ตัวอย่างการประกาศตัวแปร เช่น int *a , char *ptrเป็นเครื่องหมายที่ใช้ทำงานกับ Pointer มี 2 ตัว คือ & และ * เรียกว่า สตาร์ หรือ แอสเทอร์ริก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวแปรที่ตามหลัง *นี้เป็น Pointer เช่น *ptr คือตัวแปร Pointer ที่เก็บค่าตำแหน่งที่ ptr และดูว่าเก็บค่าอะไรอยู่ แล้วจึงนำค่านั้นมาใส่แทน ส่วน &เป็นเครื่องหมายที่ใช้เมื่อต้องการนำค่าของตัวแปรที่เก็บไว้ในหน่วยความจำออกมาใช้ เช่น ptr=&count; ก็คือการอำตำแหน่งที่ count มาเก็บไว้ที่ ptr

28 มิถุนายน 2552

DTS 02-23/06/2009

#include"stdio.h"
#include"string.h"
main()
{
struct patient
{
char name[15];
char sirname[30];
int id;
char gender[10];
int age;
char status[15];
float weight;
float height;
}case_history;
strcpy(case_history.name,"Piyanat");
strcpy(case_history.sirname,"Piyachockanagul");
case_history.id=12345;
strcpy(case_history.gender,"Female");
case_history.age=20;
strcpy(case_history.status,"single");
case_history.weight=45.00;
case_history.height=165.00;
printf("Name : %s\n",case_history.name);
printf("Sirname : %s\n",case_history.sirname);
printf("ID : %d\n",case_history.id);
printf("Gender : %s\n",case_history.gender);
printf("Age : %d\n",case_history.age);
printf("Status : %s\n",case_history.status);
printf("Weight : %.2f\n",case_history.weight);
printf("Height : %.2f\n",case_history.height);
}



ความรู้ที่ได้รับจากเรื่อง Introduction

โครงสร้าง คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม ส่วนข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจจะเป็นตัวเลข หรือไม่เป็นก็ได้ ดังนั้นเมื่อนำคำทั้งสองคำนี้มารวมกันจึงเกิดคำใหม่ คือ โครงสร้างข้อมูล ซึ่งมีความหมายว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้าง สามารถจำแนกได้ 2ประเภท ได้แก่ โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ และโครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ

โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลเบื้องต้น เช่น char,int และข้อมูลโครงสร้าง เช่น array,record,file โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ ก็สามารถแบ่งได้อีก 2 ส่วน ก็คือ โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น และโครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น ในการเลือกใช้โครงสร้างข้อมูลนั้นจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลชุดนั้นๆเป็นสำคัญ และต่อง่ายและสะดวกต่อการดำเนินงาน

อัลกอริทึ่ม เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบระเบียบขั้นตอน ในการเลือกใช้นั้นจะต้องมีความเหมาะสมและกระชับรัดกุม การแสดงขั้นตอนมักจะใช้ flowchartที่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงขั้นตอนการทำงาน ควรใช้ภาษาธรรมชาติที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน

22 มิถุนายน 2552

DTS 01-16/06/2009

นางสาวปิยณัฐ ปิยะโชคณากุล

Miss. Piyanat Piyachockanagul

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
คณะ วิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

E-mail :
u50132792029@gmail.com